วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติวาเลนไทน์

วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เมื่อประเพณีความรักแบบช่างเอาใจ (courtly love) แผ่ขยาย

ประวัติวันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด

                                        

ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย

และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศีรษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์

การส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย

กุหลาบแดงและขาวรวมกัน : ดอกไม้สำหรับสื่อความหมายให้รู้ว่า "สองเราเป็นหนึ่งเดียวกัน"
กุหลาบสีชมพู : ดอกไม้สำหรับความงดงามและความอ่อนโยน
กุหลาบสีเหลือง : เป็นดอกไม้ที่บอกเป็นนัยว่า "ขอเป็นชู้ทางใจ" หรือ หมายถึงความสุข สนุกสนาน ร่าเริง
กุหลาบสีส้ม : ดอกไม้เพื่อบอกความในใจถึงความรักและสิ่งที่ผ่านมา กุหลาบแดงเข้ม(สีเหมือนไวน์แดง) แทนคำว่า "เธอช่างสวยเหลือเกิน"

กุหลาบสีขาว : ดอกไม้สำหรับบอกว่า "ฉันรักเธอด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน"
กุหลาบตูมที่มีทั้งใบและหนาม : เป็นดอกไม้ที่บอกให้รู้ว่า "แม้ฉันจะวิตกอยู่บ้าง แต่รู้ว่าเธอคงไม่ปฎิเสธ"
กุหลาบตูมที่ริดใบทิ้งหมด : ดอกไม้ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้รู้สึกทุกสิ่งทุกอย่าน่ากลัวไปหมด
กุหลาบตูมที่ริดหนามทิ้งหมด : ดอกไม้ที่แสดงให้เห็นถึงความหวังที่มีอย่างเปี่ยมล้น
กุหลาบตูมสีแดง : ดอกไม้ที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่ไร้เดียงสา "รักของฉันเพิ่งแรกแย้ม และอ่อนต่อโลก"
กุหลาบตูมสีขาว : ดอกไม้ที่แสดงถึงความมีเสน่ห์น่าหลงใหล ไร้เดียงสาในเรื่องความรัก
กุหลาบบานหนึ่งดอก และกุหลาบตูม 2 ดอก : เป็นดอกไม้ที่บอกว่า "นี่คือความรักที่ฉันแอบซ่อนไว้"
กุหลาบบานสีแดง : ดอกไม้สำหรับบอกให้รู้ว่า "ฉันรักเธอเข้าแล้ว"
กุหลาบสีแดงที่โรยแล้ว : เป็นดอกไม้ที่เขาอยากจะบอกให้คุณรู้ว่า "ความรักของเรานั้นจบลงแล้ว"
กุหลาบสีขาวที่โรยแล้ว : ดอกไม้สำหรับแทนความหมาย "เสน่ห์ของเธอมันจืดจางลงแล้ว"
กุหลาบไร้หนาม : เป็นดอกไม้ที่สื่อให้รู้ว่า "เธอช่างมีเสน่ห์น่าหลงไหลแม้ยามแรกพบ"
กุหลาบดอกเดียว : ดอกไม้สำหรับแทนความหมาย "รักฉันแม้เรียบง่าย แต่ก็มั่นคงกับเธอผู้เดียว"

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Direct & Indirect Speech
การนำคำพูดของคนอื่น ๆ ไปบอกเล่าใครฟังมีวิธีพูดได้ 2 วิธีคือ
1. ยกคำพูดเดิมไปบอกทั้งหมด (Direct Speech)
Nicole says, "I am going to the movie."
Judy says to me, "get out"
2. ดัดแปลงคำพูดเดิมเป็นคำพูดของผู้เล่าเอง (Indirect Speech)
Nicole says that she is going to the movies.
Judy tells me to get out.
การเปลี่ยนประโยคคำพูดจาก Direct Speech หรือ Indirect Speech มี 3 ประเภท
1. Indirect Speech - Statement
2. Indirect Speech - Questions
3. Indirect Speech - Command or Request
การเปลี่ยนประโยคคำพูดเป็น Indirect Speech ยึดหลัก 4 ข้อดังนี้
1. เปลี่ยนแปลง Tense
2. เปลี่ยนแปลง Personal pronoun
3. เปลี่ยนแปลง Nearness เป็น Distance
4. เปลี่ยนแปลง Reporting Verb (กริยาในประโยคนำ)
I. Indirect Speech - Statements
กฏการเปลี่ยน Direct Statement เป็น Indirect Statement
1. เอาเครื่องหมายคำพูดออก (Question mark)
2. เปลี่ยน says say that , said said that
say to tell , said to told
3. เปลี่ยนสรรพนามให้เหมาะสม
4. เปลี่ยนคำต่อไปนี้ จากใกล้ ไกล
Direct Speech 
Indirect Speech
this           that 
these        those 
now         then, at that time 
here         there
ago          before  
tonight     that night 
today       that day 
last night     the night before 
yesterday    the day before, the previous day 
last month    the month before 
last week     the week before      
next week    the following week 
tomorrow     the following day, the next day
5. เข้า Verb ใน Direct Statement เป็น Present ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง Tense เมื่อทำเป็น Indirect Statement แต่ถ้า Verb ใน D.S. เป็น Present ต้องเปลี่ยนแปลง Tense ใน Indirect Statement เป็น more past เช่น
Present Simple              Past Simple
Present Continuous       Past Continuous
Present Perfect              Past Perfect
Past Continuous Past Perfect Continuous
Future Form Future in the Past Forms
Example :
1. He says , "I can swim."
He says that he can swim
2. He says to me, "I love you."
He tells me that he loves me.
3. He said , "I love you."
He said that he love me.
4. She said to me, "I picked a rose yesterday."
she told me that she had picked a rose the bay before.
5. Bill said, "I am reading now."
Bill said that he was reading then.

Indirect Speech - Question
Indirect Speech - Question มี 2 แบบ
1. Indirect Question ที่ประโยคคำถามขึ้นต้นด้วย Question Words
2. Indirect Question ที่ประโยคคำถามขึ้นต้นด้วย Helping Verb
Ex 1. He said to me , "Who is she ?"
He asked me who she was.
2. Jane says to me , "Can you remember me ?"
Jane asks me if (whether) I can remember her.

กฏของการเปลี่ยน Indirect Question
1. ถอดเครื่องหมายคำพูด (Quotation mark) ออก
2. reporting verb ต้องเป็น ask , asks หรือ asked แล้วตามด้วยคำเชื่อม ถ้าคำถามเดิมขึ้นต้นด้วย Question Word ก็ใช้เชื่อมได้เลย แต่ถ้าคำถามเดิมขึ้นต้นด้วย Helping V. ให้ใช้ if หรือ whether เชื่อม
3. การลำดับคำให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า ตัดเครื่องหมาย ? ออกใส่ full stop แทน
4. มีการเปลี่ยนแปลงสรรพนามให้เหมาะสม และเปลี่ยนแปลง Tense ถ้ากริยานำเป็น Past
III Indirect Speech - Commands or Requests
การเปลี่ยนประโยค คำสั่ง ขอร้อง ให้เป็น Indirect Speech ให้ถือหลักดังนี้
1. เปลี่ยน said , said to เป็นคำต่อไปนี้
command - สั่งอย่างเฉียบขาด told - บอก สั่งธรรมดาทั่ว ๆ ไป
asked - ขอร้อง ordered - สั่งค่อนข้างเฉียบขาด
begged - วิงวอน อ้อนวอน warned - เตือน
requested - ขอร้อง advised - แนะนำ
proposed - เสนอแนะ forbade - ห้าม
2. ถอดเครื่องหมายคำพูดออก
3. ใช้ to + V1 เมื่อประโยคนั้นสั่งให้ทำ
not to + V1 เมื่อประโยคนั้นห้ามทำ
4. เปลี่ยนสรรพนามตามความเหมาะสม
Ex. 1. A teacher said to me , "Open the door."
A teacher told me to open the door.
2. Father said to me , "Don't make a loud noise."
Father told me not to make a loud noise.
3. He said to her , "please , don't be have like that."
He begged her not to be have like that.

สรุปการใช้ If Clause

การใช้ If (4 แบบ)แต่ละตำราก็จะเรียกไม่ค่อยเหมือนกัน เอาง่ายๆ ละกันว่ามี 4 แบบ ไปจำว่า First condition, Second condition หรือ Third condition ก็ไม่ได้ช่วยให้เราเรียนรู้อะไรแบบที่ 1 If + Present Simple, Present Simpleวิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่เป็นความจริงเช่น
If you heat water, it boils. (ถ้าคุณต้มน้ำ น้ำก็เดือด)
If you get here before seven, we can catch the early train. (ถ้าคุณมาถึงที่นี่ก่อน 7 โมง เราก็สามารถขึ้นรถไฟไปได้เร็ว)
I can’t drink alcohol if I have to drive. (ฉันไม่สามารถดื่มแอลกอฮอล์ถ้าฉันต้องขับรถ)
แบบที่ 2 If + Present Simple, Will + V1
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
เช่น
If I have enough money, I will go to Japan. (ถ้าฉันมีเงิน ฉันจะไปญี่ปุ่น)
If he is late, we will have to the meeting without him. (ถ้าเขามาสาย เราจะต้องเริ่มการประชุมโดยไม่มีเขา)
I won’t go outside if the weather is cold. (ฉันจะไม่ออกไปข้างนอกถ้าอากาศมันเย็น)
If I have time, I will help you. (ถ้าฉันมีเวลา ฉันจะช่วยคุณ)
If you eat too much, you will get fat (ถ้าคุณกินมากเกินไป คุณก็จะอ้วน)
          แบบที่ 3 If + Past Simple, would + V1 (would แปลว่า น่าจะ) (Past Simple à V2)
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในปัจจุบัน หรือ อนาคต
เช่น
If I knew her name, I would tell you. (ถ้าฉันรู้ชื่อเธอ ฉันก็น่าจะบอกคุณ) [จริงๆ แล้วไม่รู้จักชื่อเธอ]
She would be safer if she had a car. (เธอน่าจะปลอดภัยกว่านี้ ถ้าเธอมีรถ) [จริงๆ แล้วเธอไม่มีรถ]
It would be nice if you helped me do the housework. [มันน่าจะดีถ้าคุณได้ช่วยฉันทำงานบ้านบ้าง] [จริงๆ แล้วเธอไม่ช่วยเลย]
If I were you, I would call her. (ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันน่าจะโทรหาเธอ) [จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้เป็นคุณ]
If I were you, I would not say that. (ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันก็ไม่น่าจะพูดเช่นนั้น) [จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้เป็นคุณ]
          แบบที่ 4 If + Past perfect, would have + V3 (Past perfect -> Had + V3)
วิธีใช้ ใช้กับเหคุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต
เช่น
If you had worked harder, you would have passed your exam. (ถ้าคุณขยันให้มากกว่านี้ คุณก็น่าจะสอบผ่าน) [จริงๆ แล้วสอบตกไปแล้ว]
If you had asked me, I would have told you. (ถ้าคุณถามฉัน ฉันก็น่าจะบอกคุณไปแล้ว) [จริงๆ แล้วคุณไม่ได้ถาม]
I would have been in big trouble if you had not helped me. (ฉันน่าจะมีปัญหาไปแล้ว ถ้าคุณไม่ได้ช่วยฉันไว้) [จริงๆ แล้วคุณช่วยฉันไว้]
If I had met you before, we would have been together. (ถ้าฉันพบคุณก่อนหน้านี้ เราก็น่าจะได้อยู่ด้วยกันไปแล้ว) [จริงๆ แล้วฉันพบคุณช้าไป]